ประเพณีไทยเก่าแก่ที่มีแต่สมัยสุโขทัย แต่ยังคงอนุรักษ์สืบสานต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลูกหลานยังคงแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษทุกปีด้วยการส่งบุญ
วันสารทไทย หลายคนอาจจะไม่คุ้นแต่ถ้า วันสารทเดือนสิบ หรือ บุญเดือนสิบ หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันบ้าง แต่อาจจะไม่ทราบว่าในวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง ตรวจหวย จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประเพณีไทยที่มีมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งแต่ละภาคจะมีความแตกต่างกันอย่างไรตามมาดูพร้อมกันเลย
วันสารทไทย คือ
วันสารทไทยหรือบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมไปถึงสัมพเวสี ผีเปรต ผีเร่ร่อนไม่มีญาติให้ได้รับบุญไปด้วย ซึ่งวันนี้จะจัดขึ้นทุกๆ ปี ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
เนื่องจากมีความเชื่อว่าในวันสารทเดือนสิบประตูนรกจะเปิดให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วขึ้นมารับบุญได้ในวันนี้วันเดียวเท่านั้น ซึ่งสามารถที่จะได้รับบุญอย่างเต็มที่จากลูกหลาน และญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิต ดูแล้วไม่ต่างกับ วันสารทจีน ที่พี่น้องชาวจีนต้องทำทุกปีเพื่อระลึกบรรพบุรุษเช่นเดียวกัน

ซึ่งพิธีนี้จากตำราพระราชพิธีสิบสองเดือน พบว่าวันสารทไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ซึ่งในสมัยนั้นได้มีการเปิดรับเอาประเพณีของต่างชาติเข้ามามากมาย รวมถึงวันสารทซึ่งมีที่มาจากศาสนาพราหมณ์ ของอินเดียด้วย
วันสารทไทย ชื่อเรียกแต่ละภาค
แน่นอนว่าวันสารทเดือนสิบ 2564 หรือวันสารทไทยในปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 6 ตุลาคม ซึ่งตามภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยจะมีการทำบุญพร้อมกันในวันนี้ ซึ่งประเพณีนี้แม้จะมีรูปแบบของงานที่คล้ายกัน แต่ชื่อเรียกกลับถูกเรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นดังนี้
- ภาคเหนือ : จะเรียกกันว่า ทานสลากภัต หรือ ตานก๋วยสลาก
- ภาคกลาง : จะเรียกกันว่าวันสารทไทย
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เรียกกันว่า ทำบุญข้าวสาก
- ภาคใต้ : เรียกกันว่า งานบุญเดือนสิบ หรือ ประเพณีชิงเปรต
ขั้นตอนปฏิบัติงานบุญ วันสารทไทย ในแต่ละภาค
ภาคเหนือ
ตานก๋วยสลาก เป็นภาษาเหนือ ก๋วย ภาษากลางคือ ตะกร้า และสลากภัต ก็คืออาหารที่นำมาถวายพระ ซึ่งเมื่อทั้งสองคำนี้มารวมกันก็มีความหมายว่า ของทำบุญที่อยู่ในตะกร้าเป็นสังฆทานทั้งหมด
ก่อนถึงวันสารทไทยหนึ่งวัน ชาวล้านนาจะเรียกว่า วันดา ต่างจะพามารวมตัวกันจัดข้าวของที่จะนำไปถวายพระ โดยทั่วไปแล้วจะมี ข้าวสาร เกลือ หอม กะปิ จิ้นแห้ง (เนื้อแห้ง) ชิ้นปิ้ง (เนื้อย่าง) เนื้อเค็ม รวมไปถึงของใช้ที่จำเป็นของพระสงฆ์ เป็นต้น

โดยจะมีเพื่อนต่างหมู่บ้านมาช่วยจัด ผู้ชายจะทำการสาน ก๋วย ผู้หญิงจะทำการจัดของใส่ก๋วย เมื่อนำของใส่ก๋วยตามที่จัดหามาทั้งหมดแล้วก็จะทำการมัดปากก๋วย นำเงินติดที่ไม้ไผ่ไปเสียบที่ปากก๋วย เป็นอันเสร็จ
แต่ปัจจุบันนี้ได้เพื่อประหยัดเวลาได้เปลี่ยนการสานไม้ไผ่มาเป็นห่อด้วยถุงพสลาติกแทน มีความเชื่อกันว่าการทำต้นสลากเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ดังนั้นบ้านไหนที่มีฐานะดีนิยมที่จะทำต้นสลากสูงใหญ่ที่สามารถใส่สิ่งของเครื่องใช้มาก และต้องมีความสวยงามอีกด้วย
เมื่อถึงวันงาน ชาวบ้านก็จะนำก๋วยสลากไปถวายพระสงฆ์ รับศีลฟังเทศฟังธรรม จากนั้นก็จะอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วถือเป็นอันเสร็จพิธี
ภาคกลาง
สำหรับวันสารทไทยของภาคกลาง นิยมที่จะกวนกระยาสารท เพื่อนำไปทำบุญรวมกับอาหารและสิ่งของอื่น ๆ ที่จะนำไปถวายพระ รวมถึงแจกจ่ายให้กับเพื่อนบ้าน หลังจากที่ทำบุญแล้วก็จะส่งบุญกุศลให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว นอกจากทำบุญแล้วจะนิยมถือศีลฟังธรรมเช่นกัน
บางที่ยังนำอาหาร และขนมต่าง ๆ ไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามไร่นาโดยการนำเอาไปวางตามต้นไม้ หรือสถานที่จัดเอาไว้เฉพาะ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับประเพณีวันสารทเดือนสิบทางภาคอีสานจะเริ่มเตรียมการก่อนหนึ่งวัน โดยจะนำเอาข้าวเม่าพอง และข้าวตอก มาทำอาหารและขนมต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปทำบุญในวันสารท ซึ่งขนมที่นิยมทำคือ ข้าวสาก หรือกระยาสารท
หลังจากที่เตรียมของสำหรับการทำบุญเรียบร้อยแล้ว ก็จะตระเวนไปตามบ้านญาติโดยการนำเอาอาหารและขนมไปให้ ถือเป็นการเยียมเยียนซึ่งกันและกัน และมีของติดไม้ติดมือไปฝาก

เมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำเดือนสิบ ในช่วงเช้ามืดก็จะพากันไปทำบุญที่วัดและอุทิศผลบุญให้กับญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับ และเมื่อถึงช่วงเพลจะเตรียมอาหารไปถวายพระกันอีกครั้ง แต่ในรอบนี้จะนำห่อข้าวเล็ก ห่อข้าวใหญ่ และข้าวสากไปด้วย ซึ่งชาวบ้านจะนำไปแจกให้แก่กัน
โดยห่อข้าวเล็กจะเปิดกินกันทันทีในขณะที่อยู่ที่วัด เชื่อกันว่าเป็นการกินข้าวในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับห่อข้าวใหญ่จะเอากลับบ้าน เพราะจะเป็นอาหารแห้ง เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่จะนำไปกินในโลกหน้า
ส่วนข้าวสาก ก็จะนำมาแจกเช่นเดียวกันในห่อนั้นจะมีข้าวต้ม ข้าวสาก แกงเนื้อ-ปลา หมากพลู บุหรี่ ห่อข้าวสากนี้จะนำเอาไปห้อยตามต้นไม้ที่ต่าง ๆ หรือตามรั้วบ้าน จากนั้นจะตีกลองส่งสัญญาณให้ผีเปรตมารับเอาไป
พอเวลาล่วงผ่านไปสักระยะชาวบ้านก็จะพากันไปแย่งเอามา เรียกกันว่า แย่งเปรต ซึ่งเมื่อแย่งห่อนั้นมาได้จะนำเอาไปวางตามไร่ตามนาเรียกว่า เลี้ยงตาแฮก ต่อจากนั้นก็จะเอาไปให้เด็กกินเชื่อกันว่าจะทำให้เด็กแข็งแรงไม่เจ็บป่วย
ภาคใต้
ชาวใต้เชื่อกันว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับผู้ที่ตกนรกจะเรียกว่าผีเปรต และเปรตเหล่านี้จะได้รับอนุญาตให้มาพบญาติพี่น้องได้ตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 10 จนถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบเป็นวันที่ต้องกลับไปสู่นรก ดังนั้นช่วงแรม 1 ค่ำ ถึง แรม 15 ค่ำ จึงเป็นช่วงเวลาการทำบุญของคนใต้ ซึ่งจะแบ่งการทำบุญเป็น 4 แบบ คือ

- ทำบุญเดือนสิบ เป็นการกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก
- ทำบุญวันสารท การทำบุญจะเกิดขึ้นโดยถือเอาหลักที่มีความสัมพันธ์กับประเทศอินเดีย เช่น สารทเดือนสิบที่นครศรีธรรมราช
- จัดหมรับ (อ่านว่า หมับ แปลว่า สำรับ) และชิงเปรต ก็คือจะมีการจัดสำหรับอาหารที่เป็นเสบียงของแห้งไปถวายพระสงฆ์ ซึ่งจะจัดไปพร้อมกับสำหรับอาหารคาวหวาน โดยจะนำไปถวายพระในช่วงเช้าก่อนเพล มีการจัดขบวนแห่ ซึ่งในขบวนจะมีชาวบ้านแต่งตัวเป็นเปรตร่วมขบวนไปด้วย
การชิงเปรต จะมีหลังจากที่จัดหมรับ และถวายอาหารให้กับพระสงฆ์ รับพร เรียบร้อยแล้ว จะนำเอาอาหารที่แยกเอาไว้ต่างหากโดยส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่บรรพบุรุษชอบ ที่สำคัญขาดไม่ได้ต้องมีขนม 5 อย่าง อาทิ
ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมดีซำ และขนมบ้า รวมอยู่ด้วย ไปวางยังที่จัดเอาไว้ซึ่งจะสูงพอสมควร
เมื่อได้อุทิศบุญให้กับญาติที่ล่วงลับแล้ว จะมีการเข้าไปแย่งอาหาร และขนมเหล่านั้นอย่างสนุกสนานใครได้มากถือว่าเป็นกุศลแรง และเกิดเป็นสิริมงคลกับคนนั้น จึงมีที่มาของการชิงเปรต
กระยาสารทถือได้ว่าเป็นขนมประจำวันสารทไทย โดยขนมนี้จะทำมาจาก ข้าวเม่า ข้าวตอก งา ถั่ว และน้ำตาล นำมาผสมรวมกันกวนจนสุก จากนั้นนำมาตัดทำเป็นแผ่นหรือจะปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ก็ได้เช่นกัน
เป็นประเพณีตักบาตรที่จะทำกันเฉพาะวันสารทไทย นิยมทำกันเพียงบางท้องถิ่นเท่านั้น ส่วนมากชาวมอญนิยมตักบาตรน้ำผึ้งเป็นส่วนใหญ่ โดยจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตรพระ
หวยออนไลน์เป็นรูปแบบการซื้อหวยอย่างหนึ่ง สำหรับคอหวยที่ชอบซื้อหวยใต้ดินปัจจุบันนี้นิยมที่จะมาซื้อหวยออนไลน์มากกว่าเพราะไม่ต้องผ่านคนกลาง สามารถซื้อหวยได้ทุกประเภท ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากขั้นต่ำเพียงไม่กี่บาท สำหรับเว็บหวยออนไลน์ที่ปลอภัยเชื่อถือได้และมีอัตราจ่ายสูงสุดในตอนนี้คือ เว็บ tode และ Ruay
ขอบคุณรูปภาพบางส่วน hatyaifocus
สรุป วันสารทไทยเดือนสิบ
วันสารทไทยถือได้ว่าเป็นประเพณีที่เก่าแก่อย่างมาก และยังมีความสำคัญต่อชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคที่จะต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
แต่ก็สื่อความหมายไปในทางเดียวกันก็คือ การแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรษ และทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นประเพณีที่งดงามควรอนุรักษ์เอาไว้เพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อ ๆ กัน
บทความที่น่าสนใจ