lottoup หวยออนไลน์
365kub คาสิโนออนไลน์

ในปี 2564 กรมอุตุฯ ได้ประกาศสิ้นสุดหน้าร้อนเข้าหน้าฝนไปเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มตัวแล้ว แต่ทำไม ? แอดยังร้อนตับแตกอยู่เลย มิน่าเล่าทางภาคอีสานจึงต้องมีประเพณี บุญบั้งไฟ เพื่อขอฟ้าขอฝนให้ตกเต็มที่เพื่อจะมีน้ำใช้ในการทำไร่ไถนา

บุญบั้งไฟ หรือที่เรียกกันว่า บุญเดือนหก เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอีสาน ถ้าจะถามเกิดขึ้นเมื่อใดคงไม่มีใครบอกได้แน่ชัด แต่ที่แน่ ๆ งานนี้สนุกสนานอย่างแน่นอน ก่อนที่จะไปม้วนซื่นกับงานบุญบั้งไฟ ตาม ตรวจหวย มาทางนี้เพื่อไปทำความรู้จักกับประเพณีนี้ว่าเป็นมาอย่างไร และในงานนี้เขามีอะไรที่น่าสนใจกันบ้างรับรองได้ว่าม้วนคัก ๆ แน่นอน

ประวัติ บุญบั้งไฟ

ตามตำนานที่เล่าขานกันมาของประเพณีนั้นมาจากนิทานพื้นบ้านของชาวไทยภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก นิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ได้กล่าวถึงการจุดบั้งไฟ บูชาบอกกล่าว พญาแถน ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอาหารอุดมสมบูรณ์

รถแห่งบั้งไฟ

นอกจากนนี้การจุดบั้งไฟยังเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่งด้วยว่า ในปีนั้นฝนฟ้า น้ำท่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งการเสี่ยงทายจะดูตอนขึ้นของบั้งไฟ หากบั้งไปขึ้นดีไม่มีปัญหาติดขัดจะถือว่าปีนั้นน้ำท่าบริบูรณ์ดี แต่ถ้าหากบั้งไฟไม่ขึ้น หรือกว่าจะขึ้นมีอุปสรรคติดขัด แสดงว่าปีนั้นฝนฟ้าจะไม่ค่อยดี เมื่อดูกันไปแล้วประเพณีก็จะคล้าย ๆ กับประเพณีแห่นางแมวของคนภาคกลางนั่นเอง

บั้งไฟมีกี่แบบ อะไรบ้าง

เราคงจะเคยเห็นบั้งไฟอันเล็กบ้าง อันใหญ่บ้าง ตามจริงแล้วเป็นประเภทของบั้งไฟทั้งนั้น มีหลายแบบหลายประเภท มาดูกันว่ามีแบบไหนบ้าง หากได้ไปร่วมงานจะได้ไม่ปล่อยไก่อายสาวอีสาน ไม่รู้จักบั้งไฟว่าเป็นประเภทไหน ทั้งนี้บั้งไฟนั้นมีทั้งหมด 7 แบบ ดังนี้

วิธีทำบั้งไฟ
  • บั้งไฟโหวด : เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็ก ตัวกระบอกจะมีความยาวประมาณ 4 – 10 นิ้ว นิยมทำขึ้นเพื่อใช้ไปประกอบกับบั้งไฟใหญ่ ๆ
  • บั้งไฟม้า : หรือที่คนอีสานเรียกว่า ลูกหนู เป็นบั้งไฟขนาดเล็ก ที่มีความยาวของบั้งไฟอยู่ที่ประมาณ 1 ฟุต จะถูกติดขึงอยู่กับลวด เมื่อจุดแล้วจะวิ่งไปตามทิศทางของเส้นลวด
  • บั้งไฟช้าง : เป็นบั้งไฟที่ไม่มีหาง จึงไม่สามารถที่จะพุ่งขึ้นฟ้าได้แต่จะมีเสียงร้องออกมาคล้าย ๆ กับเสียงช้าง ทำขึ้นเพื่อใช้แข่งขันว่าของใครเสียงดังกว่ากัน หรือต้องการจะให้มีเสียงดังแบบไหนก็จะใช้เทคนิคในการทำให้ได้เสียงต่าง ๆ
  • บั้งไฟแสน : เป็นบังไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ต้องใช้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญในการทำ บรรจุดินปืนถึง 120 กิโลกรัม จึงเป็นบั้งไฟที่มีอันตรายอย่างมาก ดังนั้นก่อนที่จะทำบั้งไฟชนิดนี้จะต้องมีการบวงสรวงก่อนทำทุกครั้ง
  • บั้งไฟตะไล : บั้งไฟที่มีขนาดความยาวประมาณ 9 – 12 นิ้ว มีลักษณะกลม เมื่อจุดจะพุ่งขึ้นฟ้าในทางขวาง
  • บั้งไฟตื้อ : เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็กยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 3 นิ้ว นิยมใช้จุดในงานศพ เมื่อจุดเสียงไม่แหลมสูง เสียงดังตือ ๆ พุ่งขึ้นฟ้าอย่างไม่มีทิศทางจึงทำให้เป็นบั้งไฟที่ค่อนข้างอันตรายไม่นิยมทำกันสักเท่าไหร่เช่นกัน
  • บั้งไฟพลุ : บั้งไฟที่นิยมจุดตามงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานบุญกฐิน การเปิดงานเป็นต้น เมื่อจุดแล้วจะมีเสียงดัง

กว่าจะเป็นงาน บุญบั้งไฟ

งานบุญบั้งไฟ ไม่ใช่นึกอยากจะจัดก็จัดขึ้นได้ทันที เนื่องด้วยว่างานบุญบั้งไฟถือได้ว่าเป็นงานเทศกาลที่ใหญ่ การที่จะจัดได้นั้นต้องผ่านการเห็นชอบจากทุกคนในหมู่บ้าน ฉะนั้นตามประเพณีดั้งเดิมที่มีกันมาจึงมีหลายขั้นตอนกว่าจะมีงาน เทศกาลบุญบั้งไฟ ให้ได้สนุกสนานม้วนอกม้วนใจกันได้

ในสมัยก่อนต้องมีการเรียกประชุม ผู้เฒ่าผู้แก่ พระสงฆ์ และชาวบ้านทั้งหมดมาลงความเห็นว่าจะทำการจัดงานบุญบั้งไฟหรือไม่ในปีนั้น ๆ เมื่อตกลงจัดงานก็จะเชิญชวนหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาร่วมงาน เรียกว่า “เตินป่าว”

ถ้าหากปีใดที่เศรษฐกิจไม่ดี เกิดการฝืดเคืองในหมู่บ้าน ก็ต้องงดจัดงาน จะต้องไปทำพิธีขอเลื่อนจัดงานที่ศาลปู่ตาของหมู่บ้าน โดยให้ หมอผีประจำหมู่บ้าน(พ่อเฒ่าจ้ำ) ไปทำพิธีเซ่นไหว้บอกกล่าวขอเลื่อนจัดงานในปีถัดไป(ในพิธีนี้ห้ามผู้หญิงเข้าร่วม)

ขบวนแห่บั้งไฟ

ในสมัยก่อนจะมีการเรี่ยไรเงินสมทบทุนในการทำ บั้งไฟ ซึ่งจะทำแค่อันเดียว ถือว่าช่วยทำบุญร่วมใจสามัคคีกัน ทั้งนี้นอกจากทำบั้งไฟแล้ว ยังมีการทำพลุ ดอกไม้ไฟ ตะไล ตกแต่งตัวบั้งไฟให้สวยงาม ซึ่งการตกแต่งนี้เรียกว่า การเอ้ และจะนำพลุ ดอกไม้ไฟ ตะไลต่าง ๆ ใช้จุดในการแห่ร่วมขบวนด้วย ซึ่งงานบุญบั้งไฟจะมีการแห่บั้งไฟ 3 วันด้วยกันคือ

  • วันสุกดิบ : ในวันนี้จะจัดขบวนแห่บั้งไฟที่มีขนาดเล็กไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน และจะนำเอาเครื่องเซ่นไหว้บวงสรวง เพื่อใช้ในการเสี่ยงทายน้ำฝน ความอุดมสมบูรณ์ในการทำนาปีนั้น และทำการฟ้อนรำดื่มกินที่หน้าศาลปู่ตา (ในพิธีนี้ห้ามผู้หญิงเข้าร่วมเช่นกัน)
  • วันโฮม : วันนี้จะเป็นงานใหญ่แห่บั้งไฟไปยังสถานที่จัดงานของหมู่บ้าน (ซึ่งในสมัยก่อนจะจัดกันตามวัด) การแห่ในวันนี้จะมีการรำเซิ้งท่าทางต่าง ๆ ซึ่งจะมีท่าเหมือนร่วมเพศอยู่ด้วย

    หรืออาจจะนำเอา บักแบ้น (ปลัดขลิก) ผูกไว้ที่เอวหลายอัน ในขณะที่เซิ้งหรือรำ ระหว่างขบวน ก็จะชักเชือกที่ผูกโยงกับ บักแบ้น ให้กระดกขึ้น หรืออาจจะมีการแต่งตัวแปลก ๆ เช่น ชายหนุ่มแต่งกายด้วยชุดของผู้หญิงเข้าร่วมขบวนแห่ก็มี

    ดังนั้นการแห่บั้งไฟเหมือนเป็นการปลดปล่อยให้ทุกคนได้หลุดออกจากฎเกณฑ์ทางสังคมชั่วคราว เพราะว่าการแสดงอวัยวะเพศ หรือการเต้นท่าทางเหมือนกำลังร่วมเพศในที่สาธารณะเป็นสิ่งหยายคาย เป็นสิ่งที่สังคมยอมรับไม่ได้

    ในช่วงกลางคืนจะมีงานเลี้ยง มีการแข่งขันตีกลอง หรือที่เรียกว่า การเส็งกลอง โดยจะเป็นการแข่งขันกันของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งจะใช้กลองกิ่งของวัดมาตีแข่งกัน หมู่บ้านไหนแพ้ก็จะไม่ใช้กลองนั้นอีก
  • วันที่ 3 : ร่วมกันทำบุญถวายจังหันพระ (อาหารเช้าพระ) และจากนั้นก็จะเป็นการแข่งยิงบั้งไฟ ของบ้านใดขึ้นได้สูงกว่ากัน แต่ถ้าหากบั้งไปบ้านใดไม่พุ่งขึ้นฟ้า หรือแตกระหว่างจุดเจ้าของบั้งไฟนั้นจะโดนทำโทษโดยจะถูกจับโยนลงในโคลนซึ่งเป็นที่สนุกสนาน ทั้งคนโดนโยนและคนถูกโยน
วิธีทำโทษบั้งไฟไม่ขึ้น

จากที่ ตรวจหวย ได้บอกเล่าถึงงานประเพณีบุญบั้งไฟในข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เป็นประเพณีที่ทำกันในสมัยอดีต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังสานต่อประเพณีอันดีงามนี้อยู่ เพียงแต่อาจจะปรับรูปแบบของงานต่างออกไปบ้าง เพื่อให้เข้ากับในยุคสมัยปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ในประเทศไทยนอกจาก ประเพณีบุญบั้งไฟแล้ว ก็ยังมีประเพณีที่งดงามสืบต่อกันมาหลากหลายอย่าง เช่น ‘บุญกฐิน’ ซึ่งเป็นประเพณีบุญที่สนุกสนานไม่แพ้กันด้วย เป็นต้น

บั้งไฟ หมายถึง

การนำเอากระบอกไม้ไผ่ มาบรรจุดินปืน (หมื่อ) ในปริมาณที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างได้กำหนดเอาไว้ จากนั้นทำการประกอบหัวท้าย ตกแต่งความสวยงามเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ต้องการ

เฒ่าจ้ำ คือใคร

เป็นคนที่ได้การยอมรับให้เป็นตัวแทนของหมู่บ้าน ในการติดต่อสื่อสารกับผีปู่ตา หรือรับสื่อจากผีปู่ตา มาแจ้งกับคนในหมู่บ้าน อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการจัดทำพิธีกรรมต่างที่เกี่ยวกับผีปู่ตา รวมไปถึงการรักษาอาการป่วยไข้ต่าง ๆ ของคนในหมู่บ้าน

พญาแถนคือใคร

ตามความเชื่อของคนอีสาน พญาแถน คือ ผีฟ้า หรือผีแถน เป็นผีที่อยู่ในระดับสูงกว่าผีทั่วไป อาจหมายรวมถึงเทวดา ที่ปกปักษ์รักษาบริเวณเขตแดนนั้น

ขอบคุณรูปจาก ประตูสู่อีสาน

สรุป

ในปัจจุบันประเพณีบุญบั้งไฟ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากในเรื่องของความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับงานบุญอาจจะหายไปบ้าง เพราะมีการแข่งขันการเดิมพันขันต่อ และการประกวดต่าง ๆ เพื่อเน้นการจัดขึ้นเพื่อการท่องเที่ยวดึงดูดให้คนต่างพื้นที่ ต่างจังหวัดมาเที่ยวชมงาน

แต่นั่นก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะถือได้ว่าเป็นข้อดีในเรื่องของการกระจายรายได้ แต่ถ้าทำให้การท่องเที่ยว และกับวัฒนธรรมเดิม ๆ อยู่คู่กันได้ เชื่อว่าประเพณีบุญบั้งไฟ จะได้รับความสนใจมากกว่านี้เป็นเท่าตัว

บทความที่น่าสนใจ