ร้อยเรียงตำนานแม่น้ำโขง กับความอัศจรรย์ของ “บั้งไฟพญานาค”
ตำนานแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดสายหนึ่งไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร บ้านเล็กเมืองน้อยหลายสถานที่เป็นแม่น้ำที่มีความอุดมสมบุรณ์ มีเรื่องราวที่เป็นตำนานมากมายจากการเล่าขานต่อ ๆ กันมานานนับพันปี เป็นแม่น้ำที่มีความลึกลับซับซ้อนมากเป็นเรื่องยากที่คนแค่ชั่วอายุเดียวจะทำความเข้าใจ หรือพิสูจน์อะไรได้ เพราะที่แม่น้ำโขงแห่งนี้มีเรื่องอัศจรรย์เกิดขึ้นมากเช่นเดียวกันเป็นเรื่องที่อยู่คู่กันมาเลยก็ว่าได้
อย่างเช่นเรื่อง บั้งไฟพญานาค เป็นตำนานอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ผู้คนมากกมายได้เห็นกับตากันมาแล้ว และก็มีคนส่วนมากเช่นกันที่ต้องการพิสูจน์ความลี้ลับอัศจรรย์นี้ ทำให้ผู้คนมากมายมาเยือนในช่วงเทศกาลออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในทางธรรมชาติแม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาหิมาลัยโดยมีความยาวกว่า 4880 กิโลเมตร ไหลผ่าน จีน ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม

ในตามพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า ในภูเขาหิมพานต์ก็คือเทือกเขาหิมาลัยแห่งนี้มีความลึกลับซับซ้อนมากมายด้วยความหัศจรรย์มีสรรพสัตว์ต่าง ๆที่เหนือกว่าจินตนาการของของมนุษย์ที่จะบรรยายได้หมดสิ้น ในหมู่แห่งขุนเขาเหล่านั้นอาจจะมีดินแดนที่ไม่ได้มีการสำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นดินแดนสนธยา ที่ซ่อนความลี้ลับยิ่งกว่าโลกภายนอกที่เราได้รู้จักกันมากมายนับไม่ถ้วน
แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดเหมือนแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย เกิดจากเทือกเขาหิมาลัยเช่นเดียวกัน แม่น้ำทั้งสองถือเป็นแม่น้ำสำคัญมีความยิ่งใหญ่เป็นที่กล่าวขานมาหลายชั่วอายุคนทำให้เกิดวัฒนธรรม และประเพณีต่าง ๆ ที่สำคัญมากมาย ทรงอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตลอดมา
มีคำกล่าวที่ว่า “พญานาคคือผู้ที่สร้างลำน้ำโขง และได้อาศัยอยู่มากมายตลอดแนวของแม่น้ำโขง” คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะปรากฎเรื่องอัศจรรย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพญานาคเพราะตำนานในการเกิดของแม่น้ำโขงก็ได้บ่งบอกชัดเจนว่าพญานาคเป็นผู้สร้าง
หากจะกล่าวถึงบั้งไฟพญานาคที่ปรากฎอยู่เหนือลำแม่น้ำโขง ก็ต้องกล่าวถึงตำนานแม่น้ำโขง ที่มี 3 ตำนานหลักได้แก่ ตำนานจากลาว ตำนานจากคำชโนด และตำนานจากคัมภีร์สุวรรณโคมคำ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแค่ตำนานของไทยที่คำชโนดให้เป็นข้อศึกษากันต่อไป

ตำนานแม่น้ำโขงจากคำชโนด เล่าสืบกันมาว่า ณ หนองกระแส เป็นที่อยู่ของพญานาคสองตนที่เป็นสหายรักกัน โดยหนองกระแสนี้อยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว ติดทางใต้ของประเทศจีน แบ่งเขตการปกครองเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นของพญาศรีสุทโธนาคราช ในอีกส่วนปกครองโดยพญาสุวรรณนาคราช
ต่อมาได้เกิดความเข้าใจผิดกันเรื่องของอาหาร ทำให้เห็นถึงธรรมชาติความเป็นธรรมดาของสรรพสัตว์ที่ยังมีกิเลส แม้กระทั่งพญานาคผู้มีอิทธิฤทธิ์ก็สามารถลุแก่อำนาจความโกรธได้ พญาศรีสุทโธนาคราช และพญาศรีสุวรรณนาคราช ได้พาบริวารของตนออกทำสงครามกัน เพื่ออาณาบริเวณอันเป็นที่อยู่อาศัยทำให้เกิดความวุ่นวายอันยิ่งใหญ่แก่สรรพสัตว์ใหญ่น้อย ด้วยอิทธิฤทธิ์ของทั้งสอง ทำการรบกันอยู่นานถึง 7 ปี
พื้นแผ่นดินสะเทือนไปทั่ว สงครามของพญานาคทั้งสองตนในครั้งนี้ทำให้ร้อนไปถึงพระอินทร์ต้องเสด็จลงมาหยุดศึกสงครามครั้งนี้ โดยมีโองการจากสวรรค์ให้พญานาคทั้งสองตนสร้างแม่น้ำแข่งกันคนละสาย และจะให้ปลาที่ไม่เคยมีในโลกนี้มาก่อนให้กับผู้ที่ชนะเพื่อเป็นสมบัติและสัญลักษณ์ของแม่น้ำสายนั้น
พญาสุวรรณนาคราชพาบริวารออกจากหนองกระแสไปสร้างแม่น้ำสายหนึ่งทางทิศใต้ด้วยเพราะมีนิสัยที่ละเอียดรอบคอบใจเย็นกว่าพญาศรีสุทโธนาคราชได้สร้างแม่น้ำสายหนึ่งได้ตรงมากที่สุดในประเทศไทยแต่ใช้เวลาสร้างนานกว่าพญาศรีสุทโธนาคราช เรียกแม่น้ำนั้นว่า “แม่น้ำนาน” ผ่านมานานเข้าก็เรียก “แม่น้ำน่าน”

ในส่วนของพญาศรีสุทโธนาคราชพาบริวารมุ่งไปทางทิศตะวันออกสร้างแม่น้ำสายหนึ่งด้วยเพราะมีนิสัยใจร้อน มุ่งที่จะสร้างให้เสร็จก่อนแม่น้ำที่สร้างจึงคดไปโค้งมาตามภูเขา เข้าไปซอกเขา หลบหลีกไปตามความเหมาะสมจึงสร้างเสร็จในเวลาอันรวดเร็วจึงทำให้เป็นฝ่ายชนะ เกิดเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่คดโค้ง เรียกกันว่า “แม่น้ำโค้ง” นานเข้าเปลี่ยนเรียกเป็น “แม่น้ำโขง”
ทำให้ได้รับปลาที่แม่น้ำสายไหนไม่เคยมีมาก่อนเลยนั่นคือ “ปลาบึก” ที่มีอยู่ที่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกทำให้เชื่อกันว่าเป็นปลาที่ได้รับพระราชทานจากองค์อินทร์ ต่อมาพญาศรีสุทโธนาคราช ได้ทูลของทางขึ้นลงระหว่างเมืองบาดาลกับโลกมนุษย์ ที่ใต้แม่น้ำโขง โดยขอไว้ 3 ที่ คือ พระธาตุหลวงเวียงจันทร์ หนองคันเท ที่ประเทศลาว และที่คำชโนด(พรหมประกายโลก) ที่มีต้นคำชโนดเป็นสัญลักษณ์
ต้นคำชโนดนั้นจะมีแค่ที่เฉพาะป่านี้อยู่ในเนื้อที่เพียง 20 ไร่ มีลักษณะของพันธุ์ไม้สามชนิดรวมกันคือ ต้นมะพร้าว ต้นตาล และต้นหมาก รวมกันอยูู่ในต้นเดียว ขึ้นอยู่โดดเด่นปรากฎเป็นสัญลักษณ์ที่ลี้ลับมาก เคยมีเรื่องเล่าว่าต้นชโนดนี้เป็นต้นไม้อาถรรพ์นำออกจากที่นี่ไปปลูกที่อื่นไม่ได้เพราะจะทำให้คนที่นำไปปลูกจะพบเจอแต่เรื่องร้าย ๆ ทำมาหากินไม่ขึ้น
ทางขึ้นลงระหว่างบาดาลกับโลกมนุษย์นี้ ว่ากันว่าในคืน 15 ค่ำ พญาศรีสุทโธนาคราชกับบริวารจะกลายร่างเป็นมนุษย์ขึ้นมาที่ป่าคำชโนดแห่งนี้ทำให้ผู้คนทั่งไปเรียกขานท่านว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ
เมื่อมองให้สอดคล้องกับคำกล่าวของพระอริยสงฆ์หลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวถึงพญาศรีสุทโธนาคราชไว้ว่า
“พญาศรีสุทโธนาคราชเป็นกษัตริย์ครองนาคพิภพทั่วแค้วนแดนไทยเป็นพญานาคตระกูลหนึ่งเศียรแต่มีฤทธานุภาพและบุญบารมีสูง อยู่ในศีลในธรรมเป็นสัมมาทิฐิ นิสัยอ่อนโยน มีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ และนับถือพระพทุธศาสนา ในฝั่งไทยพญาศรีสุทโธนาคราชเป็นใหญ่ที่สุดไม่มีพญานาคตนใดเสมอได้ ทั้งยังทรงฤทธิ์และปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ นิยมไปไหว้องค์พระธาตุพนมเป็นอย่างมาก”

เชื่อกันว่าในป่าคำชโนดนี้อาจจะบ้านเมืองลี้ลับอันเป็นที่อยู่ของมนุษย์กลุ่มหนึ่งที่มีผิวพรรละเอียดไม่หยาบกร้านเหมือนคนทั่วไปเรียกกันว่า “ชาวบังบด” หรือ “ชาวลับแล” เคยมีเรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับป่าแห่งนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าคำชโนดได้พบชาวบังบดจากป่าคำชโนดแห่งนี้ออกมาเที่ยวงานบุญประจำปี ฟังเทศน์มหาชาติ ร่วมแห่พระเวสสันดรชาดก มีทั้งผู้หญิงผู้ชายมากมาย อีกทั้งยังมีหญิงชาวบังบดไปขอยืมเครื่องมือทอหูกอยู่เป็นประจำอีกด้วย
มีความเชื่ออีกอย่างที่สอดคล้องกับการเกิดบั้งไฟพญานาค ที่มีจำนวนมากเป็นพิเศษในเขตโพนพิสัย จ.หนองคาย เรื่อยจนไปถึง อ.เมือง จ.บึงกาฬ เชื่อกันว่าในบริเวณนี้มีเมืองบาดาลขนาดใหญ่เป็นที่อาศัยของพญานาคอยู่ใต้ลำน้ำโขง เป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญเหมือนกับบ้านเมืองเราในอดีตที่ต้องมีเมืองหน้าด่านไว้คอยต้านศัตรูดังเช่นในสมัยกรุงศรีอยุทธยา
มีพื้นที่ขึ้นลงของเมืองบาดาลนี้ที่ใดที่หนึ่งในบริเวณโพนพิสัยเป็นเหตุให้มีบั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นเยอะมากเพราะเป็นที่อยู่ของพญานาคจำนวนมาก ส่วนเมืองหลวงของพญานาคนั้นเชื่อกันว่าอยู่ที่แก่งอาฮง อ.เมือง จ.บึงกาฬ เป็นจุดที่ได้ชื่อว่าลึกที่สุดในลำน้ำโขงและเป็นสะดือแม่น้ำโขง

เป็นธรรมดาที่แม่น้ำทั่วไปจะต้องมีจุดที่ลึกที่สุดที่จะอยู่จุดใดจุดหนึ่งของลำน้ำนั้น สำหรับสะดือแม่น้ำโขงจะปรากฎให้เห็นชัดในช่วงหน้าแล้งในเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ของทุกปี เพราะในช่วงนี้ลำน้ำโขงจะแห้งลง สีของแม่น้ำจะใส แต่ความเชี่ยวกราดจะมากว่าตอนน้ำมาก
ที่เชื่อว่าแก่งอาฮงเป็นสะดือของแม่น้ำโขงเพราะชาวประมงในพื้นที่เคยวัดความลึกของแม่นำโขงมาแล้วด้วยการผูกหินกับปลายเชือกแล้วค่อย ๆหย่อนลงไปอยู่นานได้ความลึกอยู่ที่ 99 วา แต่บางครั้งก็ลึกกว่านั้น
นับว่าเป็นความซับซ้อนทางธรรมชาติ และเป็นความลี้ลับที่ยากจะพิสูจน์ เล่ากันมานานว่าที่แก่งอาฮงจะมีปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาคที่พิเศษกว่าที่อื่น ดวงไฟที่ขึ้นมานั้นจะมีสีเขียวนวลตาขนาดใหญ่เกือบเท่าโอ่งส่องสว่างไปทั่วแก่ง ผุดขึ้นจากน้ำสูงราว 20 เมตร แล้วก็หายไป
สรุป
ความลี้ลับของ แม่น้ำโขง ยังมีอีกมากมาย ที่ยังรอการพิสูจน์ แต่ตำนานก็คือตำนาน ถึงอย่างไรไม่ว่าจะมีเรื่องอัศจรรย์แค่ไหน แม่น้ำโขงก็ยังเป็นสายน้ำที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งที่รวมประเพณีและวัฒนธรรม ruay ของไทยและประเทศเพื่อนบ้านตลอดไป
เซียนแปะโรงสี ช่วยปลดหนี้ด้วยยันต์ฟ้าประทานพร